กองทัพบก โดย กรมกิจการพลเรือนทหารบกได้จัดทำโครงการ “ปลูกจิตสำนึกรู้คุณแผ่นดิน” ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ ๘ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกด้านความมั่นคงของประชาชนชาวไทยให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ และตระหนักในหน้าที่ ที่พึงมีต่อสถาบันหลักของชาติ ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ขยายไปสู่องค์กรและสังคมต่อไป ด้วยแนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยบางส่วนที่มีความคิดจาบจ้วง หมิ่นประมาท ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่ยึดเหนี่ยวของปวงชนชาวไทย การจัดโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ จึงเกิดแนวคิดดังกล่าว คือ การสร้างมวลชนที่มีความคิดบวกต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งการสร้างจะเริ่มตั้งแต่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ในระดับประถมศึกษา, ระดับมัธยมศึกษา, ระดับอุดมศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไป โดยการนำแนวคิดความดี ความกตัญญู และการคิดเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม มาเป็นตัวปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อันถูกโยงแนวหลักพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ มาเป็นหลักการในการสร้างความดี และการนึกถึงบุญคุณของแผ่นดินที่เราชาวไทยได้อยู่อาศัยโดยตลอด ๗ ปีที่ผ่านมาเราเริ่มสร้างแนวคิดจาก
ปีที่๑ การสร้างผู้นำแนวความคิดของการคิดดีต่อประเทศ
ปีที่๒ เหล่าผู้นำได้สร้างกลุ่มและออกมาแสดงออกในแนวคิดอย่างเป็นรูปธรรม
ปีที่๓ ได้เริ่มขยายกลุ่มแนวคิดลงสู่ภาคส่วนต่างๆ จนได้กลุ่มและผู้คนที่เห็นด้วยในแนวความคิดแห่งการทำดีเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน
ปีที่๔ ได้นำเอาความคิดแห่งการทำดีตอบแทนแผ่นดินมา “แสดงออก” จากเครือข่ายที่เราได้สร้างมา
ปีที่๕ มีการแสดงออกถึงความจงรักภักดีโดยการร่วมมือ และสนับสนุนแนวความคิดที่มีต่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์
ปีที่๖ นำเรื่องราวของแรงบันดาลใจที่พสกนิกรที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลยพลเดชเป็นต้นแบบ มาสร้างสรรค์ให้เกิดความสามัคคีและความจงรักภักดีในชาติศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อถ่ายทอดแง่มุมและความประทับใจที่อยู่ภายในจิตใจของผู้คน ออกมาเป็นผลงานในรูปธรรม โดยมีการประกวดผลงานต่างๆที่ถ่ายทอดผ่านแนวคิด “สืบสาน พระราชปณิธาน พร้อมใจภักดีแด่องค์ราชัน” กว่า ๒๐ ปีที่ผ่านมาในหลวงทรงทุ่มเทพระวรกาย ของพระองค์สร้างโครงการต่างๆที่เพื่อความสุขของประชาชน
ปีที่๗ คนไทยโชคดีที่มีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ผู้ทรงเป็นทั้งต้นแบบในการใช้ชีวิต เป็นผู้สร้างแรงบันดาลไรให้พสกนิกรชาวไทยได้น้อมนำไปประยุกต์ใช้ นอกจากนี้ประชาชนชาวไทยยังได้ประจักษ์ถึงพระอัจฉริยภาพหลายด้าน ทั้งด้านดนตรีจิตรกรรม การถ่ายภาพ การศึกษา วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี การเกษตร กีฬาและอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต เป็นแนวทางด้านหลักคิดการฝึกฝนปฏิบัติรวมถึงความมุ่งมั่นพากเพียรแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า โครงการปลุกจิตสำนึกรู้คุณแผ่นดินจึงขอน้อมนำเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงใช้พระหัตถ์ลงมือปฏิบัติทดลองด้วยพระองค์เองทุกอย่าง เพื่อให้ประชาชนเกิดพลังแห่งการเรียนรู้ โดยเฉพาะการนำศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและเกิดความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยเพื่อเป็นการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีข้านี้บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างยั่งยืนโครงการปลูกจิตสำนึกรู้คุณแผ่นดินจึงสร้างการรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจคำสอนของในหลวงรัชกาลที่เพื่อนำมาปฏิบัติในแนวความคิด “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยังยืน” โดยให้ความสำคัญที่การ “ลงมือทำ”
We Do Volunteer หมายถึง ผู้ที่สมัครใจทำงานเพื่อประโยชน์แห่งประชาชนและสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงิน หรือสิ่งอื่นใด บุคคลที่อาสาเข้ามาช่วยเหลือสังคมด้วยความสมัครใจ เสียสละ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ป้องกัน แก้ไขปัญหาและ พัฒนาสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนคุณสมบัติที่สำคัญของ อาสาสมัคร (Volunteer) มี ๓ ประการ คือ ทำงานด้วยความสมัครใจไม่ใช่ด้วยการถูกบังคับหรือเป็นเพราะหน้าที่เป็นงานเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและสังคมหรือเธเรารณประโยชน์และทำโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงิน หรือสิ่งของมีมูลค่าแทนเงิน “ทำให้ ด้วยใจ” คือผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละ สิ่งที่ตนเองมีแม้กระทั่งเวลา เพื่อเผื่อแผ่ให้กับส่วนรวม
ระยะเวลาของการจัดทำโครงการ “ปลูกจิตสำนึกรู้คุณแผ่นดินปีที่ ๘”
– กิจกรรมเปิดโครงการฯ (๗ กุมภาพันธ์ la๕๖ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
– กิจกรรมประกวดภาพวาด (ก.พ.-พ.ค. ๖๒)
กำหนดการแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง
รับผลงาน : มีนาคม – พฤษภาคม ๒๕๖๐
ตัดสินผลงาน : มิถุนายน ๒๕๖๒
คณะกรรมการตัดสินผลงาน กิจกรรมประกวดภาพวาด
๑. อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
๒. อาจารย์ สังคม ทองมี ประธานก่อตั้งศูนย์ศิลป์สิรินธร
๓. ศาสตราจารย์ ถาวร โกอุดมวิทย์ อดีตรองอธิการบดี ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
๔. รองศาสตราจารย์ ทินกร กาษรสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ พลประเสริฐ รองคณะบดีและประธานสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๖. อาจารย์ อภิชัย การิกาญจน์ ศิลปินอิสระ
* * รายชื่อคณะกรรมการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ * *
– กิจกรรมประกวดภาพยนตร์สั้น ๙๐ วินาที (ก.พ.-พ.ค. ๖๒)
กำหนดการแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง
รับผลงาน : มีนาคม-พฤษภาคม ๒๕๖๒ ตัดสินผลงาน : มิถุนายน ๒๕๖๒
คณะกรรมการตัดสินผลงาน กิจกรรมประกวดภาพยนตร์สั้น ๙๐ วินาที
ประกอบด้วย ผู้สร้าง / ผู้กำกับภาพยนตร์ / นักเขียนบท และ บุคคลในวงการภาพยนตร์ จากหลากหลายค่าย ซึ่งเป็นคนที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในวงการ อาทิ
๑. คุณบัณฑิต ทองดี (นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย, นักเขียนบทภาพยนตร์และผู้ควบคุมการสร้าง)
๒. คุณเหมันต์ เขตมี (ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอ)
๓. คุณอลงกต เอื้อไพบูลย์ (ผู้กำกับโฆษณา ภาพยนตร์ มิวสิกวิดีโอ)
๔. คุณกิตติ เชี่ยววงศ์กุล (นักแสดง นักเขียนบท)
* * รายชื่อคณะกรรมการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ * *
– สื่อสร้างสรรค์รณรงค์ให้คนไทยมีจิตใจอาสา We Do Volunteer “ทำให้ ด้วยใจ” โดยมีตัวอย่างผู้นำความคิด เพื่อจัดทำสปอตรณรงค์ We Do Volunteer “ทำให้ ด้วยใจ” ดังนี้
บุคคลต้นแบบของปี ๒๐๑๘
1. พ.ท. นพ. ภาคย์ โลหารชุน (หมอภาคย์) จิตอาสาขากถ้ำหลวง
2. คุณอาร์ต นายพศุฒม์ บานแย้ม นักแสดง กับบทบาทจิตอาสาที่ต้องเจอกับคำว่า ทำดีสร้างภาพ
3. คุณสุวรรณฉัตร พรหมชาติ และภรรยา พญ. จำเนียร พรหมชาติ แท็กซี่จืตอาสา รับ-ส่ง ผู้ป่วยผู้พิการฟรี