16 สิงหาคม 2562 – กรุงเทพฯ /สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) จัดงาน STARTUP THAILAND LEAGUE 2019: DEMO DAY หนุนปั้นนักรบเศรษฐกิจใหม่ นำ 100 ผลงานต้นแบบของ 100 ทีมนักศึกษา ช้างเผือกทั่วประเทศที่ผ่านการคัดเลือก พร้อมสร้างเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพจริง มั่นใจชวนนักลงทุน นักธุรกิจ นักเรียน นิสิต นักศึกษา เครือข่ายวิสาหกิจและสมาคมธุรกิจ ห้ามพลาดงานนี้!! STARTUP THAILAND LEAGUE 2019: DEMO DAY จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16–17 สิงหาคม 2562 นี้ ที่อาคาร 5 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
STARTUP THAILAND League 2019 เป็นหนึ่งกิจกรรมในแผนพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ สตาร์ทอัพ ที่ดำเนินตามนโยบายปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศและวิสัยทัศน์ท่านนายกรัฐมนตรีที่ต้องการพัฒนา “วิสาหกิจเริ่มต้น เป็นนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Warrior: NEW) ผ่านการพัฒนาความเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ” (Entrepreneurial University) ที่มุ่งเน้นการสร้างภาวะความเป็นผู้ประกอบการ พัฒนาศักยภาพของอาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรในรั้วมหาวิทยาลัย และจากความสำเร็จการดำเนินงานพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น และการจัดงาน STARTUP THAILAND ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความสนใจในธุรกิจสตาร์ทอัพไปทุกวงการ โดยเฉพาะในภาคเอกชนได้หันมาจัดตั้งกองทุนเพื่อร่วมลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ และเกิดพันธมิตรทางธุรกิจในวงกว้าง รวมทั้งได้สร้างการตื่นตัวและความสนใจให้กับนิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ ในการนำไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ รวมทั้งแผนงานทางธุรกิจ (Business Model Innovation) สมัครเข้าร่วมการประกวดแข่งขัน Pitching Startup Thailand League: U-league ในปี 2562 นี้ ที่จัดขึ้น 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันในปีนี้ รวม 491 ทีม มีจำนวนนิสิต นักศึกษาร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 1,687 คน การประกวดแข่งขัน STARTUP THAILAND League 2019 มีเป้าหมายในการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial) ให้แก่นิสิต นักศึกษา โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การจัด Business Model Coaching แก่นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ เพื่อบ่มเพาะและเร่งสร้าง วิสาหกิจเริ่มต้น โดยทาง NIA ได้จัดให้มีการฝึกอบรมเข้าร่วมแคมป์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างมาตรฐานในการเริ่มเป็น Startup เพื่อพัฒนาแนวคิด ไอเดีย แผนธุรกิจให้แก่นิสิตนักศึกษาโดยวิทยากรที่ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจสตาร์ทอัพ ก่อนเข้าสู่สนามของการนำเสนอผลงานจริงแก่คณะกรรมการ โดยจัดเวียนไปทั่วประเทศ 4 ภาค ที่จังหวัดนครราชสีมา สงขลา นครปฐม และเชียงใหม่ 2. การรับสมัครและจัดประกวดแข่งขัน Pitching Startup Thailand League: U-league ของนักศึกษาทั่วประเทศ โดยจัดขึ้นใน 4 ภูมิภาค ซึ่งทีมที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติแผนงานทางธุรกิจ จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะได้รับเงินสนับสนุนจาก NIA เพื่อพัฒนาเป็นผลงานต้นแบบ (Prototype) และนำมาต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป 3. การจัดงาน DEMO Day ที่จัดขึ้นใน 2 วันนี้ จะเป็นการจัดแสดงผลงานต้นแบบ (Prototype) ที่เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการของทีมที่ผ่านการประกวดแข่งขัน Pitching Startup Thailand League:U-league ซึ่งในขั้นตอนสุดท้ายนี้ ทีมที่ผ่านการพิจารณาผลงานต้นแบบจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะได้รับเงินรางวัลจาก NIA รวมทั้งการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพต่อไป จากการประกวดแข่งขัน Pitching Startup Thailand League: U-league ในปี 2562 นี้ ที่จัดขึ้น 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ มีทีมสมัครเข้าประกวดแข่งขันทั้งสิ้น รวม 491 ทีม จาก 31 มหาวิทยาลัย ผ่านการคัดเลือกแผนธุรกิจสตาร์ทอัพ 150 ทีม ใน 9 สาขาธุรกิจสตาร์ทอัพ คิดเป็นร้อยละ 30.55 ดังนี้
• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา สมัครเข้าประกวดแข่งขันจำนวน 132 ทีม ผ่านการอนุมัติแผนงานธุรกิจ รวม 38 ทีม
• และภาคใต้ จัดที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา สมัครเข้าประกวดแข่งขันจำนวน 65 ทีม ผ่านการอนุมัติแผนงานธุรกิจ รวม 18 ทีม
• ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม สมัครเข้าประกวดแข่งขันจำนวน 144 ทีม ผ่านการอนุมัติแผนงานธุรกิจ รวม 42 ทีม
• ภาคเหนือ จัดที่อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมัครเข้าประกวดแข่งขันจำนวน 150 ทีม ผ่านการอนุมัติแผนงานธุรกิจ รวม 52 ทีม
นายสาคร ชนะไพฑูรย์ ที่ปรึกษาสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กล่าวในฐานะเป็นประธานเปิดงานว่า ปัจจุบัน เมื่อโลกได้ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคแห่งการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมและดิจิทัล และประเทศไทยเองก็ได้ก้าวเข้าสู่ยุคที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เราจำเป็นต้องมี “นักรบใหม่ทางเศรษฐกิจ” ผู้ที่จะสามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและเป็นตัวจักรสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ผมมีความยินดีอย่างมากที่เห็น ‘การสร้างโอกาส’ ให้กับน้องๆ นิสิตนักศึกษา ประชาคมสตาร์ทอัพ ได้มีพื้นที่รวมตัวและจัดแสดงผลงานจากการสร้างสรรค์ ผลงานที่เป็นไอเดียใหม่ ผลงานที่กำลังจะก้าวไปเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพและก้าวไปสู่การเป็นนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ และขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ทุกทีม และทุกๆ คน กับก้าวแรกแห่งความสำเร็จ เป็นผลที่เกิดมาจากการระดมความคิด ความทุ่มเท และการสร้างสรรค์ผลงาน จากไอเดียนำมาสู่ผลงานต้นแบบที่จัดแสดงในวันนี้ เป็นความภาคภูมิใจของทั้งครอบครัว สถาบันการศึกษา รวมทั้งของ NIA ด้วย นายสาคร กล่าวทิ้งท้ายว่า “NIA พร้อมที่จะ ‘ให้โอกาส’ และ ‘สร้างโอกาส’ ให้เกิดขึ้นกับน้องๆ นิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ โดยจะยังคงสนับสนุนโครงการ STARTUP THAILAND LEAGUE เพื่อเป็นเวทีเปิดกว้างต้อนรับไอเดีย และการสร้างสรรค์ของทุกคนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคม และส่งเสริมให้กลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ หันมาสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพที่เป็นระบบ มีนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีช่วยขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว และขอเชิญชวนให้นิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ ได้ก้าวเข้ามาเริ่มต้นการเป็นสตาร์ทอัพ และเข้าร่วมโครงการในปีต่อๆ ไป”
ผลการแข่งขัน Startup Thailand U-League ระดับมหาวิทยาลัย แต่ละภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
• ชนะเลิศอันดับที่ 1 ทีม Recute มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใน Sector: อุตสาหกรรม (Industrial Tech)
ระบบที่ Matching order ของโรงงาน Recycle กับสินค้าจากร้านรับซื้อของเก่าเพื่อที่จะให้โรงงาน หา Order ที่ต้องการให้ตรงกับร้านรับซื้อของเก่าที่จะต้องการขาย โดยมีฟังก์ชั่นที่จะให้ทางโรงงานสามารถแจ้ง Orderที่ต้องการเข้ามาในระบบจากนั้นระบบก็จะจัดการหาสินค้าที่เขาต้องการให้
• demo day จัดที่ Hall 5 ใช่ไหมรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทีม J ELDER มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์ ใน Sector: ไลฟ์สไตล์ (LifeStyle)
ไอเดียธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เป็นมาร์เก็ตเพลสที่ใช้งานง่าย สาหรับให้ผู้สูงอายุสามารถเสนอขายสินค้าในโลกออนไลน์ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รู้สึกว่ามีคุณค่าโดยที่สังคมจะเข้าใจว่าพวกเขายังสามารถทำงานและ สร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้
• รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ทีม Heal Med มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใน Sector: การแพทย์และสาธารณสุข (MedTech/ Health Tech)
ที่นอนลมแบบลอนจากวัสดุซิลิโคน LDPE (Low Density Polyethylene) ที่ช่วยลดโอกาสการเกิดแผล กดทับและสามารถลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ดียิ่งขึ้น
ภาคใต้
• ชนะเลิศอันดับที่ 1 ทีม MICRONEED มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใน SECTOR : การแพทย์และสาธารณสุข (MedTech/ Health Tech)
แผ่นแปะเข็มจิ๋วอัจฉริยะบรรจุยาแบบสลายตัวได้และเป็นมิตรกับร่างกาย (biodegradable and biocompatibility) เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีการออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงในการนำส่งยา วิตามิน และ สารอาหารที่จำเป็นต่อผิวพรรณ เข้าสู่ร่างกายย่างปลอดภัย
• รองชนะเลิศอันดับที่ 1 SMART BIOGREEN มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใน SECTOR: เกษตรและอาหาร (AgriTech/ Food Startup)
“SMART BIOGREEN” นวัตกรรมการผลิตไบโอแก๊สจากเศษอาหารเหลือใช้ภายในครัวเรือน โดยการบด สับ ย่อยขยะให้มีขนาดเล็กเพื่อใส่ลงถัง biogreen และระบบจะทำการย่อยทางชีวภาพโดยจุลินทรีย์ผลิตแก๊สออกมา แล้วนำแก๊สที่ผลิตได้เก็บไว้ภายในถังเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ในรูปแบบของพลังงานความร้อน เพื่อทดแทนการใช้แก๊ส LPG ที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป
• รองชนะเลิศอันดับที่ 2 Errund มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ใน SECTOR: ไลฟ์สไตล์ (LifeStyle)
แอพพลิเคชั่นมือถือที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นผู้ช่วยในจัดการธุระเล็กๆ ช่วยประหยัดเวลาและแก้ไขปัญหาการเดินทางไม่สะดวก โดยสามารถโพสต์ให้คนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงที่พร้อมไปทำธุระแทนให้ จะได้รับเงินพิเศษเป็นค่าตอบแทนในการทำธุระนั้นๆ ให้
ภาคกลาง
• ชนะเลิศอันที่ 1 ได้แก่ ทีม BMG มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ใน Sector: Health Tech
BMG เป็นถุงมือที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำนมลดอาการปวดคัดเต้านม และรกัษาอาการท่อน้ำนมอุดคันของคุณแม่โดยใช้ความร้อน
• รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม FullFill มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ใน Sector: E-Commerce/Logistic
นวัตกรรมการบริการจัดส่ง Home product cleaning โดยใช้(Box set) บรรจุภัณฑ์ของทางผู้จัด FullFill โดยทาง FullFill จะเป็นช่องทางส่ง Boxset for Home product cleaning รายเดือน โดยที่คำนวณปริมาณสัดส่วน Home product cleaning ต่อบุคคล เมื่อถึงเวลาสิ้นเดือน ลูกค้าวาง Boxset ไว้ที่หน้าประตูบ้าน จากนั้นทาง FullFill จะเป็นผู้นา Boxset นั้นกลับไปเติม Home product cleaning ภายบรรจุภัณฑ์ของเดิมเพื่อ กลับมาหมุนเวียนในระบบและใช้ใหม่อีกครั้ง
• รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ GroupMeGo จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน Sector : Travel
แพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการเดินทางหาเพื่อนร่วมทาง โดยแนบบัตรประชาชนหรือเอกสารทางราชการเพื่อยืนยันตัวตนกับทางแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ยังสามารถระบุนิสัยใจคอและความขอบของตน ให้ระบบคัดเลือกเพื่อนร่วมทางให้ถูกใจได้
ภาคเหนือ
• รางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 1 ทีม Palalamp มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใน Sector: เกษตรและอาหาร (AgriTech/ Food Startup)
เครื่องสร้างปุ๋ยจากการอากาศ ด้วยเทคโนโลยีพลาสมา เป็นเครื่องที่อาศัยหลักการที่พัฒนามาจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่าทางธรรมชาติ เมื่อเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า พลังงานที่ส่งออกมาในรูปของพลังงานไฟฟ้าจะไปกระตุ้นให้ก๊าซในอากาศซึ่งมีก๊าซไนโตรเจนอยู่เป็นจำนวนมากเกิดการดิสชาร์จแตกตัวเป็นไอออนสร้างอนุมูลไนเตรทและไนไตรท์ลงสู่พื้นดิน การทำงานของเครื่องสร้างปุ๋ย เริ่มจากการป้อนอากาศเข้ามาในหลอดพลาสมา จากนั้นป้อนแรงดันไฟฟ้าไฮโวลต์ เข้ามายังระบบ ให้อากาศเกิดการดิสชาร์จแตกตัวเป็นไอออน สร้างอนุมูลไนเตรทและไนไตรท์ และนำมาตรึงลงในน้ำโดยใช้เวนตูรี่ น้ำที่ได้สามารถนำไปปลูกพืชได้โดยตรง นอกจากนี้ยังได้พัฒนาให้ก๊าซในอากาศซึ่งมีอ๊อกซิเจนเป็นองค์ประกอบเกิดการดิสชาร์จแตกตัวสร้างอนุมูลโอโซน ที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในระบบน้ำ ซึ่งจะช่วยลดโอกาศการเกิดโรคของพืชได้
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม RoboNurse มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน Sector: การแพทย์และสาธารณสุข (MedTech/ Health Tech)
เป็นการวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องควบคุมความดันในช่องท้องทางอ้อม ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ความดันโลหิตสูงภายในช่องท้อง และภาวะกลุ่มอาการของช่องท้อง โดยจะพบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บในช่องท้องหรือมีภาวะเลือดออกภายในช่องท้อง สามารถลดภาระของพยาบาล และแก้ปัญหาของการเกิดอันตรายกับผู้ป่วยเนื่องจากการอุดตันในสายยางที่ เกิดจากการกายสภาพของ ของเหลวในสายยางกลายเป็น