หลังจากมีประเด็นร้อนเรื่องการจ่ายค่าตัวหนุ่ม “เก้า เกริกพล”อดีตคนเคยร่วมงาน เรียกได้ว่าสาว “เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น หรือ รัชนก สุวรรณเกตุ” ก็ทัวร์ลงอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะทำอะไร ก็เป็นที่จับตามองไปเสียหมด ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นคอนเสิร์ต , การโพตส์อัพเดทชีวิต , การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ก็ถูกสังเกตและโฟกัสอย่างมาก โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อน และสิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดเจน ก็คือการกระทำ “Cyber Bully”นั่นเอง ที่ได้ใช้พื้นที่ทางโลกออนไลน์ แสดงความคิดเห็นในทางลบ จนสามารถทำร้ายคนได้เลยทีเดียว อย่างหลาย ๆ เคสของคนดังที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ อาทิ แก้ม วิชญาณี , คริส พีรวัส , กอล์ฟ เบญจพล, อ๊อฟ ปองศักดิ์,อ๊อฟ ปองศักดิ์, ไอซ์ ศรัณยู, ก็อต อิทธิพัทธ์ เป็นต้น
ก่อนหน้านี้เคยมีดาราศิลปินชื่อดังที่ถูกการ “ไซเบอร์ บูลลี่” จนต้องมีการเข้าทำการรักษากับแพทย์ แต่ศิลปินท่านนี้เป็นคนที่มีจิตใจเข้มแข็งและสามารถต่อสู้กับการถูกกลั่นแกล้งเหล่านี้ จนกลับมารับมือกับโลกความจริงได้ ฉะนั้น การป้องกันตัวเองจาก “ไซเบอร์ บูลลี่” จึงต้องแยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ กรณีคนที่มีชื่อเสียง อาจจะต้อง “ทำใจ” เพราะในโลกออนไลน์ยุคนี้ มีคนบางกลุ่มที่ชอบขุดคุ้ยประวัติคนอื่นมากลั่นแกล้ง ซึ่งน้อยมากที่จะมีคนมาขุดคุ้ย เพื่อนำเสนอเรื่องดี ๆ แต่เมื่อมีการขุดคุ้ยเรื่องไม่ดีขึ้นมา สิ่งสำคัญคือ การบังคับให้ตัวเองไม่ไปใส่ใจกับเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะหากไม่ใช่เรื่องจริงของตัวเราเอง แต่ส่วนมากคนที่ถูกกระทำมักจะไปดูการแสดงความเห็นที่ไม่ดี และนำมาเก็บไปคิดมาก ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของคนไทย จากหลายกรกรณีในประเด็นการบุลลี่ ผ่านโลกออนไลน์ คุณปรางทิพย์ อนันตวิภาต ประธานมูลนิธิ “คุณ” บอกว่า การที่มีคนไปขุดคุ้ยในเรื่องเดิมๆ และถูกสังคมออนไลน์ทำการ “ไซเบอร์ บูลลี่” ซ้ำไปซ้ำมา ก็อาจจะทำให้บุคคลถูกกระทำและไม่มีจิตใจเข้มแข็ง อาจเกิดภาวะโรคซึมเศร้าได้ จนนำไปสู่เหตุการณ์ที่เราคิดไม่ถึงก็ได้ ฉะนั้น หากคนที่ถูก “ไซเบอร์ บูลลี่” อาจจะมีความผิดที่กระทำขึ้นจริง สังคมในโลกความจริง และโลกเสมือน ก็ควรที่จะให้กำลังใจในการออกมารับความจริง และแก้ไขไม่ให้เกิดเรื่องเดิม ๆ ขึ้นอีก ประธานมูลนิธิฯ ยังบอกว่า ขณะที่ปัญหาการใช้โซเชียล มีเดีย ในบ้านเรา จัดว่าเป็นปัญหาที่รุนแรงกว่าประเทศอื่นๆในโลก ซึ่งหากสังเกตจะพบว่า ประเทศในแถบยุโรปจะไม่มีการแสดงความเห็นที่ให้ร้ายกันแบบบ้านเรา ซึ่งปัญหา “ไซเบอร์ บุลลี่” ในประเทศไทย เรียกได้ว่า วิกฤตไม่แพ้ประเทศอุตสาหกรรมบันเทิงอย่าง เกาหลีใต้ ซึ่งเรามักจะพบว่า มีข่าวการกระทำอัตวินิบาตกรรมของศิลปินดาราชื่อดังจากการถูกสังคมออนไลน์ใช้เครื่องมืออย่างการทำ “ไซเบอร์ บุลลี่” มาเป็น “ศาลเตี้ย” ตัดสินชีวิตคนๆหนึ่ง และในบ้านเราก็เริ่มมีคนมีชื่อเสียงการกระทำอัตวินิบาตกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยทางออกที่อาจจะช่วยลดปัญหาได้ ก็คือ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ควรที่จะมีการพัฒนาบทลงโทษหรือคุมเข้มด้านกฏหมายในเรื่องนี้ด้วย