วันนี้ (25 มีนาคม 64) ณ ห้องบอลรูม โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ บริษัท NTT DATA IOMC (NTT DATA Institute of Management Consulting, Inc.,) ผู้นำธุรกิจด้านให้คำปรึกษาและจัดการธุรกิจด้วยเทคโนโลยีโซลูชันแบบครบวงจรแก่ลูกค้าภาครัฐ และภาคเอกชนในประเทศญี่ปุ่นมานานกว่า 30 ปี ร่วมกับ บริษัท เฮาส์ออฟเอ็ม จำกัด พันธมิตรที่ได้รับเลือกในประเทศไทย จัดงานแถลงข่าว “NTT DATA Institute of Management Consulting, Inc., NTT DATA IOMC Open House – DESIGN FOR FUTURE” เพื่อเปิดตัวนวัตกรรมและโซลูชั่นจากประเทศญี่ปุ่น นำโดย คุณภูวนาท เทียนเนียม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท NTT DATA IOMC พร้อมเผยถึงทิศทางการดำเนินงานของ บริษัทฯ ในปี 2564 ด้วยการนาโซลูชันอัจฉริยะถึง 3 ด้าน มาเพื่อทำให้หน่วยงานภาคธุรกิจเอกชนและอุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุค NEXT NORMAL โดยโซลูชันอัจฉริยะทั้ง 3 ด้าน ประกอบไปด้วย โซลูชั่น Supply and Demand Optimization การเพิ่มประสิทธิภาพในอุปสงค์โซลูชัน Verture Builder – Building Valuable Partnership การสร้างความร่วมมือในเชิงธุรกิจระหว่างภาคธุรกิจ และกลุ่มสตาร์ทอัพ และการขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วยโซลูชั่น JCM (JOINT CREDITING MECHANISM)
“คุณ ภูวนาท เทียนเนียม” ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท NTT DATA IOMC เผยถึงงานแถลงข่าว NTT DATA Institute of Management Consulting, Inc., NTT DATA IOMC Open House – DESIGN FOR FUTURE ว่า “NTT DATA IOMC เป็นผู้นำธุรกิจด้านให้คำปรึกษาและจัดการธุรกิจด้วยเทคโนโลยีโซลูชันแบบครบวงจรแก่ลูกค้าภาครัฐ และภาคเอกชนในประเทศญี่ปุ่นมานานกว่า 30 ปี ในปัจจุบันเราจึงมุ่งหวังที่จะยกระดับการบริหารจัดการ การพัฒนาศักยภาพ และสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจในแก่ลูกค้าในประเทศไทย และอาเซียน จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท เฮาส์ออฟเอ็ม พันธมิตรที่ได้รับเลือกในประเทศไทย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ช มาร่วมกันนำโซลูชันชั้นสูงมาส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการของลูกค้าในประเภทไทย และอาเซียน ก้าวสู่ระดับสากล”
โดยในวันนี้ได้เปิดตัวนวัตกรรมสุดก้าวล้ำนำสมัยถึง 3 โซลูชั่น ที่พร้อมช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์มุมมองของอนาคตอย่างต่อเนื่อง ด้วยกลยุทธ์และนโยบายที่มุ่งเชื่อมโยงข้อมูลจากปัจจุบัน และคาดการณ์สถานการณ์ข้อมูลในอนาคต และยังเน้นให้เกิดการประกอบธุรกิจด้วยความยั่งยืน ประกอบไปด้วย
1. โซลูชัน Supply and Demand Optimization การเพิ่มประสิทธิภาพในอุปสงค์
โซลูชันนี้คือการใช้ข้อมูลบนโซเชียลต่างๆ (Social Listening) และ ID-P0S สำหรับการวิเคราะห์โดย AI และทีมที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านข้อมูลเชิงลึก การรับฟังข้อมูลจากโลกออนไลน์หรือ Social Listening เพื่อจะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจแนวโน้มของตลาดและความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีศักยภาพในทางกลับกัน ID-POS จะช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงคุณลักษณะของลูกค้าแต่ละราย และคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ผ่านข้อมูลประวัติการใช้ (History Data) เพื่อสร้างความได้เปรียบทางเศรษฐศาสตร์ให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมได้
การเพิ่มประสิทธิภาพอุปสงค์ และอุปทานเป็นโซลูชันที่สามารถช่วยให้ธุรกิจเห็นแนวโน้มและคาดการณ์ในเชิงธุรกิจได้ การลดต้นทุนในขณะที่เพิ่มมูลค่าทางธุรกิจให้สูงสุด การสร้างมาตรฐานในการทำงานที่ลดภาระการทำงานที่ซับซ้อน โดยการสร้างแพลตฟอร์มการใช้แอปพลิเคชันในเชิงบริหารกระบวนการต่าง ๆ ปัจจัยดังกล่าวนี้คือกุญแจสำคัญมุ่งสู่การเติบโตของผู้ค้าปลีกรุ่นต่อไป
2. โซลูชัน Venture Builder – Building Valuable Partnership การสร้างความร่วมมือในเชิงธุรกิจระหว่างภาคธุรกิจและกลุ่มสตาร์ทอัพ
โซลูชัน Verture Builder เป็นโซลูชันที่ NTT DATA IOMC ร่วมกับ Finmirai (ฟินมิรัย) ร่วมกันสร้างวิธีใหม่ สำหรับสถาบันการเงินในการคิดค้น และเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพทางการเงิน ที่จะช่วยสร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมและการดำเนินการที่มุ่งเน้นไปที่ลูกค้าและคุณค่าของสถาบัน การมุ่งเน้นที่คุณค่าของเราช่วยให้ลูกค้าสามารถเร่งการเน้นไปที่ เวลาแห่งคุณค่า Time to Value (TTV), เวลาแห่งคุณภาพ Time to Quality (TTQ) และเวลาแห่งการวัด Time to Scale (TTS) และ Fintech ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างและปรับขนาดแพลตฟอร์มของสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับเศรษฐศาสตร์ในยุคดิจิทัล
3. โซลูชั่น JCM (Joint Crediting Mechanism) การขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วยโซลูชัน
JCM (Joint Crediting Mechanism) เป็นแนวคิดพื้นฐานของโครงการจัดหาเงินทุน JCM ซึ่งเป็นการสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการที่สามารถลดคาร์บอนในการประกอบธุรกิจ ด้วยพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานหมุนเวียน หรือโครงการที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล การดูแลระบบจัดการขยะและการกำจัดของเสีย หรือแม้กระทั่งการขนส่ง ซึ่ง JCM จะสามารถสนับสนุนทางการเงินได้ถึง 50% ตามจำนวนโครงการที่เลือกสรรไว้ โดยโครงการที่อยู่ในเขตการพิจารณาจะต้องเป็นโครงการที่เริ่มการติดตั้งหลังจากสรุปสัญญาการเงินและติดตั้งให้เสร็จภายใน 3 ปี มีการดำเนินการวัดผล และจัดทำรายงานและการตรวจสอบ (MRV) ของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการออก JCM Credits
ในปัจจุบันเราได้สนับสนุนโครงการในประเทศไทยไปแล้วกว่า 38 โครงการ โดยงบประมาณในปี 2563 จะอยู่ที่ 9 พันล้านเยน (ประมาณ 90 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งหนึ่งในโครงการที่เราเคยสนับสนุนในประเทศไทยคือ การกู้คืนความร้อนเหลือทิ้งสำหรับระบบผลิตไฟฟ้า 12MW ของโรงงานปูนซีเมนต์ โดยมีแผนที่จะนำระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันไอน้ำความร้อนทิ้ง (WHR) ซึ่งเป็นโครงการที่จะมีส่วนช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจกทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากโครงข่ายไฟฟ้า
สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชันดังกล่าวสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เฮาส์ออฟเอ็ม จำกัด อีเมล์ info@mhouse.studio