กระทรวงมหาสมุทรและประมงเกาหลีและสหพันธ์สหกรณ์ประมงแห่งชาติเกาหลีประสบความสำเร็จในการจัดงานประชุมทางธุรกิจออฟไลน์ ปี พ.ศ. 2565 ณ ประเทศไทย (กรุงเทพมหานคร)เข้าร่วมโดยผู้ประกอบการค้ายอดเยี่ยมด้านผลิตภัณฑ์ประมงของเกาหลี จำนวน 6 บริษัท
(ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งออกผลิตภัณฑ์แบบตัวต่อตัว)
– เมื่อครั้งที่ประเทศเกาหลีใต้ตกอยู่ในภาวะสงครามเกาหลี ประเทศไทยเป็นประเทศพันธมิตรดั้งเดิมประเทศที่สองต่อจากสหรัฐอเมริกา ที่ส่งกองกำลังทหารมาร่วมรบในสงคราม และถือเป็นประเทศเป้าหมายความร่วมมือที่สำคัญของเกาหลีใต้ในฐานะประเทศที่เป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– ภายหลังการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2501 ประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ต่อกันที่โดดเด่นเรื่อยมา เช่น การเพิ่มระดับการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและการบูรณาการในหลากหลายด้าน เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2564 มูลค่าการค้าระหว่างทั้งสองประเทศประสบความสำเร็จสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
– ในด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงเองก็เช่นกัน ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงของเกาหลีใต้ที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 โดยมีมูลค่าการส่งออกที่ 142 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 90,000 ตันต่อปี
– กระทรวงมหาสมุทรและประมงเกาหลีร่วมกับสหกรณ์ประมงแห่งชาติเกาหลีได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศประจำกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ขึ้นใน ปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นประเทศส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงที่สำคัญของประเทศเกาหลีใต้ นอกจากนี้ ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น แต่กระทรวงมหาสมุทรและประมงเกาหลีและสหกรณ์ประมงแห่งชาติเกาหลียังมุ่งไปสู่การพัฒนาระดับความเป็นที่รู้จักของ K-FISH
แบรนด์ส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงชั้นยอด และมองหาการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ประมงเกาหลีผ่านประเทศไทย อันเป็นประตูสู่ตลาดอาเซียนมูลค่ากว่า 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย
– ศูนย์ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศประจำกรุงเทพ ฯ มีการวิเคราะห์แนวโน้มและการกระจายผลิตภัณฑ์ประมงท้องถิ่นอยู่เป็นประจำ และในขณะเดียวกันก็ทำการแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวร่วมกับผู้ประกอบการท้องถิ่นและค้นหาช่องทางการจำหน่ายในท้องถิ่นไปด้วย รวมไปถึงการจับคู่เจรจาธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงเกาหลีที่มีความสนใจการส่งออกมายังประเทศไทยผ่านการจัดงานประชุมทางธุรกิจและนิทรรศการต่าง ๆ นอกจากนี้ ศูนย์ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศประจำกรุงเทพ ฯ ยังมีการจัดกิจกรรมโปรโมชั่นร่วมกับผู้ซื้อท้องถิ่นเพื่อเป็นการสนับสนุนการตั้งต้นธุรกิจอย่างมั่นคงของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูปเกาหลีรายใหม่ในตลาดประเทศไทย โดยการประชาสัมพันธ์ความยอดเยี่ยมของผลิตภัณฑ์ประมงเกาหลีให้ทราบแก่ผู้บริโภคชาวไทยอย่างจริงจังอีกด้วย.
– ศูนย์ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศประจำกรุงเทพ ฯ ได้จัดงานประชุมทางธุรกิจออฟไลน์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในรอบ 3 ปี ที่โรงแรมคาร์ลตันในวันที่ 27 ถึง 28 กันยายนที่ผ่านมา ภายหลังการผ่อนปรนมาตรการเกี่ยวกับการเดินทางเข้าประเทศไทย ในงานประชุมครั้งนี้ได้มีการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวระหว่างผู้จัดจำหน่ายและนำเข้ารายใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 27 ราย และผู้ประกอบการส่งออกจากเกาหลีจำนวน 6 ราย เกี่ยวกับธุรกิจการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงเกาหลีที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย เช่น สาหร่าย, หอยนางรม, ปลาตาเดียว และประเภทอาหารทะเลแปรรูป เป็นต้น
– ศูนย์ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศประจำกรุงเทพ ฯ สหกรณ์ประมงแห่งชาติเกาหลีกล่าวเพิ่มเติมว่า งานประชุมทางธุรกิจครั้งนี้ประสบความสำเร็จในการให้คำปรึกษาด้านการส่งออก จำนวนทั้งหมด 92 รายการ คิดเป็นมูลค่า 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ MOU จำนวน 14 รายการ คิดเป็นมูลค่า 1 ล้าน 4 แสนดอลลาร์สหรัฐ
– ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงและเศรษฐกิจภายในประเทศจะซบเซาลง จากสถานการณ์ฉุกเฉินที่ยืดเยื้อและมาตราการการเดินทางเข้าประเทศที่เข้มงวด อันเนื่องมาจากสถานการณ์โรคระบาด COVID 19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก แต่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายหลังการผ่อนปรนมาตรการการเดินทางเข้าประเทศอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลไทยคาดการณ์ว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้เดินทางจะสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ประมาณหนึ่งล้านคนต่อเดือน และด้วยการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของผลิตภัณฑ์ประมงเกาหลีในตลาด HoReCa ในประเทศไทย จึงเป็นที่น่าคาดหวังต่อการเติบโตในอนาคตของการส่งออกในประเทศไทยทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
– ผู้ประกอบการที่สนใจส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงของเกาหลีมายังประเทศไทย สามารถเข้าเยี่ยมชมศูนย์ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศประจำกรุงเทพ ฯ สหกรณ์ประมงแห่งชาติเกาหลี หรือติดต่อผ่านทางอีเมล (kfishbkk@gmail.com) และหมายเลขโทรศัพท์ (02-057-4030) ได้ตลอดเวลา เพื่อติดต่อขอรับคำปรึกษาด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงหลากหลายชนิดของเกาหลีมายังประเทศไทย
– กระทรวงมหาสมุทรและประมงเกาหลีร่วมมือกับสหกรณ์ประมงแห่งชาติเกาหลีในการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเป็นจำนวนกว่า 10 สาขาใน 7 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, จีน รวมไปถึงประเทศไทย และให้การสนับสนุนด้านการตลาดท้องถิ่น, สนับสนุนพื้นที่สำนักงาน, ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย.การล่าม, การบุกเบิกตลาด ฯลฯ เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการประมงเกาหลี