“ชมรมลมวิเศษ” หนึ่งในโครงการอุ่นใจ ภายใต้แพทยสมาคมฯ ร่วมกับ “กลุ่มเซ็นทรัล” “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” และ “Hackathon Thailand” นำโดย สุพัตรา จิราธิวัฒน์ ในฐานะประธานชมรมลมวิเศษ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ร่วมด้วย ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา กรรมการแพทยสมาคมฯ และประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ชมรมลมวิเศษ และ รศ.ดร. ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ จัดงานรอบชิงชนะเลิศของโครงการประกวดนวัตกรรมแก้ไขปัญหาฝุ่นจิ๋ว สู่ลมหายใจวิเศษ ชิงถ้วยพระราชทาน “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” (The Magic Breath Innovation Contest-MBIC) ครั้งที่ 1 โดยหลังจากประกาศรับสมัครไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 ได้มีนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปให้สนใจและได้ส่งผลงานเข้ามาอย่างมากมาย รวมทั้งสิ้นกว่า 60 ทีมที่ผ่านการเวิร์คช็อป ภายใต้ แนวคิด Hackathon โดยได้รับความรู้ผ่านวิทยากรและ Mentor ผู้เชี่ยวชาญ อาทิ ดร. วิจารณ์ สิมาฉายา, ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์, พลาย ภิรมย์, ดร.ธีระศักดิ์ จันทร์วิเมลือง, ผศ.ดร.กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์, ผศ.ดร.พงษ์เทพ หาญพัฒนากิจ, ผศ.ดร.นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล, ผศ. ดร.สุชาดา ตันติสถิระพงษ์ และ ผศ. ดร.ปิยนุช ใจแก้ว ผ่านโจทย์ท้าทายที่ต้องแก้ปัญหาและส่งผลงาน ภายใน 24 ชั่วโมง โดยทีมผู้เข้ารอบทั้ง 10 ทีมสุดท้ายที่นำเสนอผลงานอย่างดีเยี่ยม โดดเด่น ได้แก่ ทีม CleanAirBot, ทีม The Magic Breath City, ทีม Peep, ทีม Papa Paper, ทีม SWU หนอนปลอก, ทีม Rising Freedom, ทีม Sap Robot, ทีม Tupst, ทีม Gasohug (นักแต๊แต๊) และ ทีม Mugital..มูอย่างไรให้ไร้ฝุ่น ซึ่งในรอบชิงชนะเลิศนี้ ทีมผู้เข้าประกวดได้นำแนวคิดหรือผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ดำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์แล้วจากรอบที่สองมานำเสนอต่อคณะกรรมการ พร้อมนำเสนอไอเดียสร้างสรรค์แก้ไขปัญหาฝุ่นจิ๋ว PM2.5 เกี่ยวกับ นโยบาย แนวคิด นวัตกรรมมสิ่งประดิษฐ์ ระบบวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงระบบ AI ต่างๆ เพื่อใช้แก้ปัญหา PM 2.5 อย่างยั่งยืน โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมากมายร่วมตัดสิน นำโดย นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส กรรมการ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ, ดร. วิจารณ์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย, สุพัตรา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเซ็นทรัล ในฐานะประธานชมรมลมวิเศษ, ดร. ฉันฑิต สว่างเนตร ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยาและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ CEO บริษัท Qualy Design, นัฐพงษ์ ปิ่นเกตุ ผู้เชี่ยวชาญจาก ฮาตาริ และ ดร.พรอนงค์ พงษ์ไพบูลย์ จาก สวทช. เป็นต้น
โดยผลการตัดสินแบ่งเป็น รางวัลด้านนวัตกรรม และ รางวัลด้านนโยบายสังคม โดย ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ด้านนวัตกรรม ได้แก่ ทีม Papa Paper, รองชนะเลิศอันดับ 1 ด้านนวัตกรรม ได้แก่ ทีม Peep, รองชนะเลิศอันดับ 2 ด้านนวัตกรรม ได้แก่ ทีม Sap Robot, รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม CleanAirBot, รางวัล Popular Magical Vote ได้แก่ ทีม Sap Robot และ รางวัลปลอบใจ ได้แก่ ทีม SWU หนอนปลอก และ ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ด้านนโยบายสังคม ได้แก่ ทีม Rising Freedom, รองชนะเลิศอันดับ 1 ด้านนโยบายสังคม ได้แก่ ทีม Mugital..มูอย่างไรให้ไร้ฝุ่น, รองชนะเลิศอันดับ 2 ด้านนโยบายสังคม ได้แก่ ทีม Gasohug (นักแต๊แต๊), รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม The Magic Breath City, รางวัล Popular Magical Vote ได้แก่ ทีม Mugital..มูอย่างไรให้ไร้ฝุ่น และ รางวัลปลอบใจ ได้แก่ ทีม TUPST โดยในงานได้รับเกียรติจาก นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานในพิธี มอบรางวัลด้านนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และนโยบายสังคม รวมทั้งสิ้น 6 รางวัล ขณะที่ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้งด้านนวัตกรรมและด้านนโยบายได้รับเกียรติขึ้นรับรางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ Gift Voucher ห้องพักจาก โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์มิราจ พัทยา และเงินรางวัล 30,000 บาท ณ บริเวณหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ รวมทั้งรางวัลประเภทต่างๆ ยังได้รับถ้วยรางวัลพิเศษ ที่ผลิตจากแนวคิดวัสดุ Reuse Recycle 100% เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากความร่วมมือระหว่าง กลุ่มเซ็นทรัล X Qualy Design ที่เป็นมากกว่าถ้วยรางวัล สามารถตั้งโชว์ ปลูกต้นไม้ ใส่ก้านหอม ตกแต่งบ้าน function ตอบโจทย์แนวคิดความยั่งยืนอีกด้วย
ด้าน สุพัตรา จิราธิวัฒน์ ในฐานะประธานชมรมลมวิเศษ ผู้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เปิดเผยว่า ในนามของ “กลุ่มเซ็นทรัล” และ “ชมรมลมวิเศษ” ซึ่งก่อตั้งขึ้นภายใต้โครงการ “อุ่นใจกับแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ” เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าการจัดโครงการประกวดครั้งนี้จะช่วยผลักดันให้คนไทยและสังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาจากฝุ่นละออง PM2.5 ที่พบในอากาศที่ทุกคนต้องหายใจและหันมาร่วมมือร่วมใจกันในการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นวัตกรรม ชิ้นงาน หรือ นโยบายต่างๆ ที่ผู้เข้าแข่งขันได้จัดทำขึ้นจะมีโอกาสพัฒนาต่อยอดในเชิงธุรกิจหรือเป็นแรงผลักดันให้สังคมในอนาคตอย่างยั่งยืน
“ชมรมลมวิเศษ เราเล็งเห็นว่า ถึงเวลาที่ผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ควรตระหนักรู้ รณรงค์ และ กำหนดแนวนโยบาย มาตรการในการป้องกัน อย่างเข้มงวด จริงจัง และควรผลักดันให้เกิดประสิทธิผล อย่างมีประสิทธิภาพ” คุณสุพัตรา กล่าวทิ้งท้าย
ผู้สนใจทั่วไปสามารถติดตามกิจกรรมต่างๆ ของ ชมรมลมวิเศษ ได้ที่ ชมรมลมวิเศษ แพทยสมาคมอาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 หรือ FB Page : ชมรมลมวิเศษ – Magic Breath Thailand