กรุงเทพฯ – 17 มิถุนายน 2567 – เคยป่วยหนักเข้าโรงพยาบาลเกื
“แต้วเคยแอทมิทเข้าโรงพยาบาลรั กษาตัวนานอยู่เกือบเดือนเลยค่ะ อาการตอนนั้นรุนแรงกว่าที่คิด ไข้ไม่ลดไม่ตอบสนองต่อยาลดไข้ เลย ถึงขั้นที่ต้องใช้น้ำแข็ งเช็ดตัว ยังจำเหตุการณ์ตอนนั้นได้ดี เลยค่ะ คาดไม่ถึงเลยว่าเพียงยุงตัวเล็ก ๆ ก็สามารถทำให้เราป่วยเข้ าโรงพยาบาลได้ ในฐานะประชาชน แต้วคิดว่าการที่เรามี ความตระหนักรู้ในเรื่ องโรคและการป้องกันถือเป็นด่ านแรกในการลดอัตราการเป็นโรคนี้ ได้ การร่วมด้วยช่วยกัน บอกต่อและแชร์ความรู้ให้กั บคนใกล้ตัวเป็นการเริ่มต้นที่ดี อาจเริ่มจากอะไรง่าย ๆ อย่าง พกยากันยุง ทำตามมาตรการ 5 ป. 1 ข. และ 3 ก. ได้แก่ 5 ป. ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง ปฏิบัติ เพื่อปราบยุงลาย 1 ข. ขัดทำความสะอาดภาชนะบรรจุน้ำ และ 3 ก. เก็บขยะ เก็บบ้าน เก็บน้ำ หรืออีกหนึ่งทางเลือกคือการฉี ดวัคซีนเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ที่ป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ทั้ ง 4 สายพันธุ์ และสามารถลดอั ตราการนอนโรงพยาบาลได้ 80%-90%* แต้วก็อยากให้ทุกคนดูแลตั วเองแล้วก็ช่วยกันดูแลครอบครั วเพราะไข้เลือดออกเกิดขึ้นได้กั บทุกคน เราทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคนี้ค่ะ” แต้ว-ณฐพร กล่าว
โดยในปี 2567 นี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ คาดการณ์ยอดผู้ป่วยไข้เลื อดออกในประเทศไทยอาจพุ่งสูงขึ้น อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนี โญ (El Nino) ที่ส่งผลต่ออุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และความชื้นมวลรวมเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนขึ้นของยุ งลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลื อดออก ผู้ป่วยไข้เลื อดออกสะสมในประเทศไทย ตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤษภาคม 2567[1] เข้าใกล้ 30,000 ราย มียอดผู้เสียชีวิต 29 ราย และคาดการณ์ว่าอาจสูงถึง 280 รายในปีนี้ เพิ่มสูงสุดในรอบ 5 ปี
*คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกั นโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยสมาคมโรคติดเชื้อแห่ งประเทศไทย พ.ศ. 2566