มิวเซียมสยาม ร่วมกับเทศบาลนครลำปาง และเครือข่ายภาคประชาชนลำปาง จัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นครลำปาง (มิวเซียมลำปาง) แหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ภายใต้นิทรรศการถาวรชุด “คน-เมือง-ลำปาง” เพื่อบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์เมืองลำปาง ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พร้อมเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
เที่ยวนครลำปาง…เมืองชั้นรองที่จะไม่เป็นรองอีกต่อไป
นครลำปาง เมืองแห่งมนต์เสน่ห์ชวนหลงใหลที่หลายคนอาจมองข้ามไป แม้ใครๆ จะบอกว่าลำปางเป็นแค่เมืองทางผ่านเพื่อมุ่งสู่เมืองท่องเที่ยวสำคัญทางภาคเหนือ แต่ใครจะรู้ว่านครลำปางในอดีตเคยเป็นเมืองชั้นรองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยหริภุญชัย (พระนางจามเทวี) ในนามเมือง “เขลางค์นคร” เรื่อยมา ด้วยความหลากหลายทั้งทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และชาติพันธุ์ ของทั้ง 13 อำเภอในจังหวัดลำปาง ทำให้มีสถานที่ท่องเที่ยวครบรสมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตลอดจนเอกลักษณ์ของนครลำปางอย่าง รถม้า หรือเครื่องปั้นดินเผาชามตราไก่ ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ทำให้ลำปางเป็นเมืองที่เที่ยวได้ตลอดทั้งปี นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และขนบธรรมเนียมที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ ต่อให้กาลเวลาจะหมุนไปนานแค่ไหนก็ยังคงรักษาความงดงามและมนต์เสน่ห์ของเขลางค์นครได้อย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย
นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กล่าวว่า มิวเซียมสยามเล็งเห็นถึงเอกลักษณ์ของเมืองลำปางที่มีภูมิประวัติอันยาวนาน โดยปรากฎจากหลักฐานที่เป็นแหล่งโบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันหลากหลาย และเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ตลอดจนมีสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดลำปางมีบุคคลผู้เป็นปราชญ์ท้องถิ่น ในสาขาต่างๆ มากมาย จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้น เพื่อนำมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาดังกล่าวมาเป็นฐานในการสร้างจิตสำนึก ความรู้รักและเข้าใจในคุณค่าของท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้รับความร่วมมือจากเทศบาลนครลำปางมอบอาคารศาลากลางจังหวัด เพื่อดำเนินการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เมืองลำปาง
พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เมืองลำปาง หรือ มิวเซียมลำปาง คือหนึ่งในต้นแบบของการสร้างสรรค์แหล่งเรียนรู้ในรูปของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (Discovery Museum) ประเภทพิพิธภัณฑ์เมือง (City Museum) ในระดับจังหวัดลำปาง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการสร้างโครงข่ายของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในภูมิภาคและยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ประเภทอื่นๆ ที่มีอยู่ทั้งภายในบริเวณจังหวัดลำปางและจังหวัดอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ทำความรู้จัก ‘คน-เมือง-ลำปาง’
นายราเมศ กล่าวเพิ่มเติมว่านิทรรศการชุด “คน-เมือง-ลำปาง” เป็นนิทรรศการถาวรที่จะจัดแสดงอยู่ที่มิวเซียมลำปาง โดยนำเสนอผ่านหัวข้อหลักๆ ว่าด้วยเรื่อง “คน” ที่มีบทบาทสำคัญปรากฎอยู่ในเรื่องราวของจังหวัดลำปาง โดยเฉพาะผู้มีส่วนสำคัญต่อประวัติศาสตร์ โบราณคดี เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หัวข้อที่สองว่าด้วยเรื่องของ “เมือง” ลำปาง ที่จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับนครลำปางตั้งแต่อดีตจนถึงลำปางในอนาคต การเปลี่ยนผ่านและเหตุการณ์สำคัญในอดีตส่งผลอย่างไรมาถึงภาพของลำปางในยุคปัจจุบัน และสุดท้ายในหัวข้อ “ลำปาง” มิวเซียมได้สำรวจและเก็บรวบรวมทั้งความเหมือนและแตกต่างทุกๆ ด้าน เพื่อตามหา ‘ลำปางแต้ๆ’ ทุกซอกทุกมุมจากทั้ง 13 อำเภอ นำมาจัดแสดงด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัยผสมผสานเทคโนโลยีแบบอินเตอร์แอ๊กทีฟ โดยแบ่งออกเป็น 16 ห้องนิทรรศการ ดังนี้
ห้องที่ 1 ก่อร่างสร้างลำปาง (Building Lampang City) จาก 500,000 ปีที่แล้ว ถึงปัจจุบัน ใครบ้าง? ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาเมืองลำปาง กลุ่มคนเหล่านั้นทำให้เมืองลำปางแต่ละยุคเป็นอย่างไร?
ห้องที่ 2 เปิดตำนาน อ่านลำปาง (Legends of Lampang)
ลำปาง อุดมด้วยตำนาน ทั้งตำนานเมือง ย่าน วัด วีรบุรุษ แต่ละตำนาน ล้วนมีความหมาย และทิ้งเบาะแสให้ตีความ
ห้องที่ 3 ผ่อผาหาอดีต (Back to the Past)
ฟอสซิลมนุษย์เกาะคา (โฮโม อิเรคตัส) อายุอย่างน้อย 500,000 ปี ภาพเขียนสีและหลุมฝังศพอายุกว่า 3,000 ปี ที่ช่องประตูผา บ่งชี้ว่า…พื้นที่ลำปางเหมาะสมสำหรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่บรรพกาล
ห้องที่ 4 ประตูโขงโยงรากเหง้า (Pratu Khong, Roots of Lampang)
ลอดซุ้มประตูโขง วัดพระแก้วดอนเต้าเข้าสู่ “เขลางค์นคร” เมืองลำปางรุ่นแรก ซึ่งเป็นเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีอายุกว่า 1,300 ปี บ้านพี่เมืองน้องกับเมือง “หริภุญชัย” ของพร