Suhyup ประสบความสำเร็จในการประชาสัมพันธ์ K-FISH ผ่านการจัด Korean Pavilion ในงาน ‘THAIFEX Anuga Asia-Seafood’ ด้วยผลงานการให้คำปรึกษาการนำเข้าส่งออก มูลค่า 72,495,000 เหรียญสหรัฐ ทั้งยังมีการร่าง MOU และสัญญาการส่งออก มูลค่ากว่า 5,167,000 เหรียญสหรัฐ
สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลี หรือ ซูฮยอบ ขนทัพผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเกาหลีเข้าร่วมงาน ‘THAIFEX Anuga Asia-Seafood’ 2023 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 – 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อเดินหน้าสนับสนุนการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเกาหลีสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเต็มกำลัง
‘THAIFEX Anuga Asia-Seafood’ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 18 ในปีนี้ เป็นงานแสดงสินค้าประมงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีบริษัทมากกว่า 3,000 แห่งจาก 45 ประเทศเข้าร่วม เพื่อแบ่งปันเทรนด์ด้านผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปและค้นหาโอกาสในการค้าระหว่างประเทศ
ในงานนี้สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลีได้จัด Korean Seafood Pavilion ขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์
K-FISH ซึ่งเป็นแบรนด์ส่งออกอาหารทะเลเกาหลีครบวงจร และสร้างความใกล้ชิดกับผู้ซื้อ รวมทั้งกระตุ้นการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเกาหในหลากหลายมิติ ผ่านกิจกรรมต่างๆ และการแจกสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย
นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้บริษัทผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเกาหลี 14 แห่งออกบูธสำหรับแต่ละบริษัท เพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์และสื่อสาร รวมไปถึงให้คำปรึกษาด้านการส่งออกสำหรับผู้ซื้อที่สนใจได้ภายในงานอีกด้วย
สินค้าส่งออกที่สำคัญของบริษัทที่มาเข้าร่วมใน Korean Pavilion มีทั้งหมด 17 รายการ เช่น สาหร่ายอบแห้ง (kim), หอยนางรม, เนื้อปู, ปลิงทะเล ,ปลาไหลทะเล, สาหร่ายทะเล(Seaweed), เกลือ, หอยเป๋าฮื้อ และกุ้งดอง โดยผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของผู้ซื้ออย่างมาก ได้แก่ หอยนางรม สาหร่ายทะเล หอยเป๋าฮื้อ และปลิงทะเล ของผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป
โดยเฉพาะใน Korean Pavilion นั้นเน้นการส่งเสริมหอยนางรม ปลิงทะเล และหอยเป๋าฮื้อคุณภาพสูงแก่ผู้ซื้อในประเทศไทยผ่านกิจกรรมให้ชิมผลิตภัณฑ์ และสามารถสรุปสัญญาการส่งออกจริงผ่านกิจกรรมให้คำปรึกษาในงานได้เลย
นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากนาย มูน ซึง-ฮยอน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย มาเยี่ยมชมและรับฟังปัญหาเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลของบริษัทที่เข้าร่วมงาน และร่วมหาแนวทางเพื่อขยายการส่งออกมายังประเทศไทย
ซึ่งในครั้งนี้ แม้จะมีสถานการณ์ที่ยากลำบาก เช่น เศรษฐกิจโลกถดถอยและการบริโภคที่ซบเซา แต่ Korean Pavilion กลับทำผลงานให้คำปรึกษาหารือ มูลค่าถึง 72,495 พันดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 14% จากปีก่อนหน้า และมีการร่าง MOU รวมถึงสัญญาการส่งออก มูลค่ากว่า 5,167 พันดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 74% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
เจ้าหน้าที่จากสหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลี กล่าวว่า “งาน ‘THAIFEX Anuga Asia-Seafood’ 2023 เป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางทะเลของเกาหลีให้เกิดการรับรู้สู่เอเชีย” และกล่าวอีกว่า “สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลี จะพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าการปรึกษาหารือจากในงานจะนำไปสู่การทำสัญญาและการส่งออกจริงผ่านการจัดการอย่างใกล้ชิดและดูแลด้วยความต่อเนื่อง”
ผู้ซื้อที่สนใจนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเกาหลีสามารถเข้าเยี่ยมชมศูนย์ส่งเสริมการค้าอาหารทะเลเกาหลีประจำกรุงเทพฯ ภายใต้สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลี และรับคำปรึกษาการนำเข้าส่งออกอาหารทะเลเกาหลีหลากหลายชนิดทางอีเมล (kfishbkk@gmail.com) หรือ โทรศัพท์ (02-057-4030) ได้เสมอ
สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลีได้ก่อตั้ง ศูนย์ส่งเสริมการค้า 10 แห่งใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน เพื่อสนับสนุนการตลาดในประเทศนั้นๆ รวมถึงให้การสนับสนุนพื้นที่สำนักงาน คำแนะนำด้านกฎหมายและการตีความ และการพัฒนาตลาดเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารทะเลของบริษัทประมงเกาหลี โดยศูนย์ส่งเสริมการค้าประจำกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่อาคาร เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ เขตสาทร เปิดให้บริการตั้งมาแต่เดือนมิถุนายน 2018