กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนามุสลิมอีสาน (ศ.พ.อ.) สำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี สถาบันศิลปะอิสลามแห่งประเทศไทย บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด และภาคีเครือข่าย จัดงาน “Soft power : ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยสู่ตลาดโลกมุสลิม” ภายใต้แนวคิด สันติสุข I มั่งคั่ง I ยั่งยืน โดยทางโครงการ “ผ้าทออีสาน: จาก วัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม” เป็นเวทีสรุปและถอดบทเรียนการดำเนินงานตลอดทั้งโครงการ ในวัน พุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 – 13.30 น. ณ บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ซอยโยธินพัฒนา เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ภายในงานยังได้รับเกียรติจากสำนักจุฬาราชมนตรี ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคีเครือข่าย ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับชมนิทรรศการและงาน เสวนาถอดบทเรียนและขยายผลการดำเนินงานในโครงการฯ เพื่อร่วมกันผลักดันพลัง Soft power ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย ให้สามารถเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิมทั้งในและต่างประเทศ สามารถสร้างความมั่งคั่ง และความยั่งยืนให้กับชุมชน ภายใต้ แนวคิด “ทุนวัฒนธรรม ก่อเกิดสันติสุข สร้างความ มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน”
อ.สุวัยบ๊ะห์ ประพฤติชอบ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า โครงการผ้าทออีสาน จากวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิง พาณิชย์ในตลาดมุสลิม เกิดขึ้นจากความตั้งใจหลัก 3 ประการ หนึ่ง คือ การทำความรู้จักกันของคนต่างวัฒนธรรม ต่างความความ เชื่อ และต่างพื้นที่ สอง คือการเคารพในสิทธิทางความเชื่อของกันและกัน และสาม คือการช่วยเหลือแบ่งปัน ในแง่ของโอกาส ช่อง ทางการสร้างรายได้และการส่งมอบองค์ความรู้อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทุนวัฒนธรรมให้เกิดเป็นมูลค่าที่จับต้องได้จริง โดยได้เน้นย้ำว่า “ให้ผืนผ้าเป็นดั่งสะพานเชื่อมระหว่างสองวัฒนธรรม” ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวชื่นชมการจัดงานมหกรรมผ้าทอ อีสานฯ ที่ผ่านมา จากท่านบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ที่ว่า “ผ้าทออีสานที่ผสานลวดลายศิลปะอิสลามนับเป็น นวัตกรรมใหม่ของงานผ้า ที่ผมไม่เคยพบเจอที่ไหนมาก่อน จึงมองเห็นโอกาสทางการตลาดที่ไม่ใช่แค่อาเซียน หากแต่สามารถที่จะ สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับคนทอผ้าได้ไกลทั่วโลก”
“งานโครงการในครั้งนี้เกิดขึ้นโดยคนอีสานทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม ซึ่งนับเป็นการสร้างจุดบรรจบที่พอดี ระหว่างสองวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมและศิลปะอิสลามในอีสานที่นับเป็นความแปลกใหม่ ดังนั้นแล้วเมื่อนำเอาความโดดเด่น ทางภูมิปัญญางานทอผ้าของคนอีสานกับศิลปะอิสลามมาผสานจนเกิดเป็นลวดลายใหม่ จึงนับเป็นจุดบรรจบที่ไม่มีกำแพงขวางกั้น และเป็นงานทางวัฒนธรรมในมิติใหม่ที่มีมูลค่าและคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง” รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลา ลแห่งประเทศไทย กล่าว
โดยก่อนหน้านี้ ทางโครงการได้มีโอกาสนำเสนอผลงาน และภาพลักษณ์ของแบรนด์ “LE’KANIS” ในงานแสดงสินค้า และการประชุมสัมมนานานาชาติด้านฮาลาล (WORLD HAPEX THAILAND 2022) ที่มีการจัดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 11 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ผ่านมา ในธีมงาน “หัตถศิลป์ผ้าทออีสาน คุณคาทางวัฒนธรรม นำสู่มูลคาในอาเซียน” นับเป็นการเปิดตัว เพื่อสร้างการรับรู้งานนวัตกรรมด้าน ลวดลายผ้าทออีสานกับอัตลักษณ์แห่งศิลปะอิสลาม (Isaan Culture X Islamic Arts) และการเปิดตัวแบรนด์ LE’KANIS : แรง บันดาลใจจากภูมิปัญญาสู่ความเลอค่า ได้อย่างงดงาม
โครงการ “ผ้าทออีสาน: จากวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม” เป็นโครงการที่ได้รับการ สนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ปีงบประมาณ 2564 สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของ โครงการได้ที่ www.lekanis.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง 081-537-5779