– มากกว่าการส่งมอบถุงยังชีพ แต่คือการส่งมอบ ‘โอกาส’ ในการใช้ชีวิต
และสร้างรายได้ให้กับชุมชน เพื่อให้ทุกคนสามารถก้าวผ่
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 2 ปี ส่งผลให้หลายชีวิตต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์ยาก บ้างเจ็บป่วย บ้างต้องขาดรายได้เป็นระยะเวลานาน และอาจจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งเพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว แต่ถึงแม้ว่าสถานการณ์จะยากลำบากหรือหนักหนาเพียงใด วิกฤติครั้งนี้ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เราเห็นถึงน้ำใจของคนไทยที่ไม่เคยขาดสาย ผ่านการส่งมอบความช่วยเหลือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือในด้านสาธารณสุข หรือด้านเศรษฐกิจ จากทุกภาคส่วนที่ร่วมมือด้วยความมุ่งหวังเดียวกัน นั่นคือให้ช่วยคนไทยก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้
การช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนที่พบเห็นได้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบ “ถุงยังชีพ” นับเป็นอีกหนึ่งวิธีการช่วยเหลือแบบเร่งด่วนที่องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถแบ่งปันเครื่องอุปโภคบริโภคพื้นฐานเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ COVID-19 โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ต้องกักตัว ขาดการจ้างงาน หรือต้องขาดรายได้จากผลกระทบทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับกลุ่มมิตรผล ที่ได้จัดทำถุงยังชีพโครงการ “มิตรปันสุข” ภายใต้แนวคิด “แบ่งปันให้คนไทยได้ท้องอิ่ม ยิ้มได้ ใจสู้ต่อ” ด้วยความมุ่งมั่นที่จะแบ่งปันถุงยังชีพที่ไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องปากท้องเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่ยังสามารถเยียวยาเศรษฐกิจในชุมชนให้ดีขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน
นางสาวกรรณิกา ว่องกุศลกิจ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาชุมชนเพื่อความยั่งยืน กลุ่มมิตรผล เปิดเผยถึงจุดเริ่มต้นของโครงการนี้ว่า “มิตรปันสุข ภายใต้การดำเนินงานของกองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทยสู้ภัย COVID-19 เป็นความตั้งใจของกลุ่มมิตรผลที่ต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบางและผู้ที่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์ COVID-19 ให้มีเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อยังชีพเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันเรายังต้องการสร้างความยั่งยืนพร้อมต่อชีวิตให้ชุมชนด้วยการกระจายรายได้ให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังซบเซา จากแนวคิดดังกล่าว จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในการจัดทำและส่งมอบถุงยังชีพ มิตรปันสุข ที่นอกจากจะเต็มไปด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคและยาสามัญพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตแล้ว ยังสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนที่เราดูแลอยู่ได้อีกทางหนึ่ง โดยกลุ่มมิตรผลได้คัดสรรสินค้าคุณภาพดีที่ผลิตภายในชุมชนเองมาบรรจุลงในถุง และให้ชุมชนช่วยกันตัดเย็บถุงที่ทำจากกระสอบน้ำตาลมิตรผลรีไซเคิล ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่น ที่คนได้รับก็อิ่มท้องและคนทำก็สามารถยิ้มได้ ช่วยสร้างรายได้และยังสุขใจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนในชุมชนด้วยกันเอง”
ความพิเศษของถุงยังชีพ มิตรปันสุข มีที่มาที่เต็มไปด้วยเรื่องราวแห่งความสุข ความหวัง และรอยยิ้มของการแบ่งปัน ผ่าน 5 ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างจากชุมชน ที่กลุ่มมิตรผลได้รวบรวมและส่งต่อไปยังผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออีกมากมาย
- ถุงยังชีพสุดเก๋จากกระสอบน้ำตาล ความพิเศษของถุงมิตรปันสุขอันดับแรก อยู่ตรงที่การนำกระสอบน้ำตาลมิตรผลรีไซเคิลคุณภาพดี มาผ่านฝีมือการตัดเย็บอย่างชำนาญและตั้งใจของกลุ่มแม่บ้านในชุมชนรอบ ๆ โรงงานน้ำตาลมิตรผลกว่า 10 กลุ่ม ใน 7 จังหวัด ที่มีทักษะด้านการเย็บผ้าเป็นทุนเดิมจากการเย็บผ้าส่งให้โรงงานน้ำตาล กลายเป็นกระเป๋ารูปทรงสวย ทนทาน และใช้งานได้ง่าย ส่งเสริมชุมชนให้มีรายได้เพิ่มจากการตัดเย็บกระเป๋าของโครงการมิตรปันสุข เกิดเป็นรายได้รวมกว่า 1,300,000 บาท
“ปกติกลุ่มแม่บ้านจะเย็บผ้าดิบส่งให้โรงงานน้ำตาลค่ะ พอมีโครงการช่วยเหลือสังคมนี้ ทางโรงงานก็ให้ชุมชนช่วยเย็บกระเป๋าเพิ่ม จริงๆ มิตรผลเขาจะให้โรงงานกระเป๋าทำก็ได้ แต่เขาอยากให้ชุมชนมีรายได้ เลยเอามาให้ชุมชนทำค่ะ เราก็ดีใจนะ มีรายได้เพิ่มด้วย ก็ตั้งใจเย็บเต็มที่ ผู้ที่รับไปหลายคนชมว่าสวย อยากหาซื้อเลยค่ะ”
นางวรรเพ็ญ ทุมทอง ตัวแทนกลุ่มเย็บผ้าจากจังหวัดสุพรรณบุรี บอกเล่าเรื่องราว
2. น้ำพริกคุณยายแห่งบ้านบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี น้ำพริกเผาสูตรดั้งเดิม โดยกลุ่มคุณยายในชุมชนบ้
“ตอนนี้มีรายได้หมุนเวียนเพิ่
3. กล้วยเขย่าจากจังหวัดสุพรรณบุรี สินค้าท้องถิ่นผลิ
“แต่เดิมทำกล้วยฉาบส่งโรงเรียน และร้านโอทอป (OTOP) ประมาณเดือนละ 150 กิโลกรัม วัตถุดิบส่วนหนึ่งมาจากกล้วยของเราเอง แต่ถ้ามีคนสั่งมาก ต้องการมาก เราก็จะซื้อจากเพื่อนบ้านและซื้อกับชาวสวนเพิ่ม ตอนช่วงโควิด ปัญหาคือเราไม่มี
ที่วางจำหน่ายเพราะตลาดปิด อาศัยส่งตามร้านค้าเล็ก ๆ ในหมู่บ้านที่พอจะเปิดขายได้ พอได้ออเดอร์จากทางกลุ่มมิตรผลเพื่อทำแจกในถุงมิตรปันสุข เราจึงได้ทำส่งเยอะขึ้น มีคนรู้จักมากขึ้น กลายเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้อยากทำกล้วยฉาบเป็นอาชีพ
ที่สามารถสร้างรายได้ต่อไป” นายปราโมทย์ กล่าวเสริม
- ข้าวอินทรีย์หอมอร่อยจากบ้านหนองเด่น ตำบลสุขเดือนห้า จังหวัดชัยนาท คุณภาพดี ปลอดสารพิษ จากการดูแลและควบคุมการผลิตเองทุกขั้นตอนโดยนางรุ่งทิพย์ ศรีเดช เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ปลูกข้าวอินทรีย์ควบคู่ไปกับการทำไร่อ้อย โดยจำหน่ายทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวกข.43 ที่ปกติจะจำหน่ายส่งให้โรงเรียน หรือส่งขายในกรุงเทพฯ แต่ในช่วงที่โควิดระบาดหนัก โรงเรียนปิดทำการ หลาย ๆ แห่งงดรับซื้อข้าว ทำให้สมาชิกชุมชนขาดรายได้ การมียอดสั่งซื้อข้าวจากโครงการมิตรปันสุขของกลุ่มมิตรผลเข้ามาจึงช่วยให้ชุมชนมีรายได้และเกิดความภาคภูมิใจที่ข้าวอินทรีย์จากบ้านหนองเด่นได้มีส่วนช่วยเหลือแบ่งปันในสังคมด้วยกัน
5. แจ่วบองหนองแข้ บ้านจุมจัง จังหวัดกาฬสินธุ์ แจ่วบองสูตรต้นตำรับที่สืบทอดกั
ทั้งหมดนี้เป็นเพียง 5 ตัวอย่างเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ชุมชนที่กลุ่มมิตรผลได้รวบรวมอยู่ในถุงยังชีพ มิตรปันสุข ซึ่งเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของเรื่องราวแห่งรอยยิ้ม ความสุข ความหวัง และแรงบันดาลใจ จากการได้เป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันให้กับสังคม ในฐานะสมาชิกชุมชนที่ได้มีโอกาสเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในคราวเดียวกันและภายในถุงยังชีพ มิตรปันสุขใบนี้ ยังคงมีเรื่องราวของการแบ่งปันความสุขให้สังคมจากคนในชุมชนสู่ชุมชนอีกมากมาย อาทิ การรวมตัวกันของเยาวชนบ้านโนนสวรรค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ที่ใช้เวลาว่างหลังจากเล่นตะกร้อ หันมาช่วยกันทำไข่เค็ม กลุ่มปลาแปรรูป บ้านโพธิ์ตาก จังหวัดขอนแก่น หรือกลุ่มชาชงสมุนไพร บ้านลาดใต้ จังหวัดเลย ที่ร่วมแรงร่วมใจกันผลิตชากระชาย สมุนไพรยอดนิยมในยุค COVID-19 เพื่อเติมเต็มทุกความหวังลงในถุงยังชีพ มิตรปันสุขนี้ และร่วมกันส่งต่อกำลังใจให้ผู้รับสามารถลุกขึ้นสู้วิกฤติครั้งนี้ต่อไปด้วยกันได้อีกครั้ง
ทั้งนี้ โครงการมิตรปันสุข โดยกลุ่มมิตรผล และกองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19 มีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติ COVID-19 ด้วยการมอบถุงยังชีพเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนกว่า 42,000 ชุด ให้คนไทยได้ท้องอิ่ม ยิ้มได้ ใจสู้ต่อในยามนี้ รวมถึงส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นชุดใหญ่ ให้แก่กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึง ทั้งกลุ่มคนเปราะบาง เยาวชน คนไร้บ้าน แรงงานที่ขาดรายได้ ผู้ป่วย COVID-19 และผู้ที่ต้องกักตัว ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยบรรจุเครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่จัดซื้อในชุมชน สนับสนุนให้เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่นกว่า 6.5 ล้านบาท กระจายรายได้สู่ 30 กลุ่มอาชีพ ใน 7 จังหวัด ช่วยเสริมรายได้ สร้างกำลังใจ และเป็นแรงบันดาลใจ
ในการต่อยอดสู่อาชีพเสริมต่อไป