ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า ศิลปินพื้นบ้าน การแสดงศิลปะพื้นบ้าน ดนตรี เป็นสิ่งที่มีสเน่ห์ เข้าถึงคนเป็นจำนวนมาก แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดโครงการนี้ ด้วยคำแนะนำจาก อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ด้านศิลปะ และวัฒนธรรม ในคณะกรรมาธิการ การศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ควรจะให้ความสำคัญกับการแสดงศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการจัดเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างบรรยากาศให้มีการส่งผ่านมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ไปสู่คนรุ่นใหม่
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ 5 ยุทธศาสตร์ 6 สร้าง คือ
- สร้างสื่อ สื่อที่อาจจะมีอยู่น้อย หรือสื่อที่ยังไม่มี โดยเฉพาะสื่อที่เป็นการแสดงออกทางศิลปวัฒนะธรรมพื้นบ้าน 2. สร้างคน เริ่มต้นด้วยการประกวด เพราะเป็นการเชื่อมโยงผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ถ้าน้อง ๆ เยาวชนสนใจโครงการนี้ พวกเขาจะต้องวิ่งไปหาศิลปินต้นแบบ เช่น ภาคใต้ ไปหาหนังตะลุง มโนราห์ ภาคกลาง ลำตัด ฉ่อย ภาคเหนือ ไปปรึกษาครูด้านสะล้อซอซึง ภาคอีสาน เป็นครูหมอลำหรือการแสดงพื้นถิ่นของภาคอีสาน เพราะฉะนั้นเป็นการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันของคนรุ่นใหม่ไปถึงศิลปินต้นแบบ
- สร้างภูมิคุ้มกัน ให้คนได้รับสื่ออย่างมีสติได้ใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ไม่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสื่อให้เป็นมลภาวะกับสังคม หรือการระรานกันในโลกออนไลน์ ในขณะเดียวกันกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ และทำให้คนมีภูมิคุ้มกันในการรับสื่อ
- สร้างองค์ความรู้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้ความสำคัญในการศึกษาวิจัยการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ
- สร้างเครือข่าย สร้างการมีส่วนร่วม ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคส่วนต่าง ๆ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์
- สร้างองค์กรที่เป็นองค์กรต้นแบบ หากพูดถึงกองทุนสื่อให้คนนึกถึงผลงานดี ๆ เป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ และพร้อมจะเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่
กิจกรรมส่งเสริมการผลิตสื่อสร้างสรรค์ ผ่านดนตรี และศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ภายใต้หัวข้อ “ศิลปินพื้นบ้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่” โครงการลำนำศิลป์ พื้นถิ่นไทย (The Melody of Folk Art) เป็นการเริ่มต้นที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ต้องการเห็นความร่วมมือระหว่างศิลปินพื้นบ้านต้นแบบ นักดนตรีพื้นบ้านต้นแบบ และคนรุ่นใหม่ที่อยากจะเข้าไปสัมผัสเรียนรู้ต้องการเห็นการทำงานร่วมกัน ส่วนราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งทำงานร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ต้องการให้มีเนื้อหาสาระการเรียนรู้เท่าทันสื่อตามเจตนารมย์ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไปเป็นเนื้อหาในการนำเสนอ
“ในอนาคตเราอยากเห็นตลาดนัดการแสดงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจะเป็นเสน่ห์ของคนที่จะมาพบเห็นทั้งนักท่องเที่ยวคนไทย และชาวต่างประเทศ ทำให้คนที่ไม่ใส่ใจในมรดกทางวัฒนธรรมของไทยหันกลับมาใส่ใจ เป็นความงดงามที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ ไม่เพียงเป็นการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านเพียงอย่างเดียว
หากแต่จะเป็นการสร้างคุณค่า ส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการเรียนรู้ใหม่ ๆ สร้างความผูกพันความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนต่างวัย ต่างเจนเนอเรชั่น เห็นบรรยากาศของคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า ลดช่องว่างระหว่างวัยโดยใช้การทำงานผ่านงานศิลปะมาเป็นเครื่องมือ เป็นโอกาสสำคัญในการเรียนรู้ สืบสาน ต่อยอด สิ่งที่เป็นศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน ”
อจ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะ และวัฒนธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา กล่าวว่า สิ่งที่ยังขาดอยู่ในบ้านเรา ณ ปัจจุบันนี้ คือ เรื่องของ ‘3 ภูมิ’
คือ ภูมิพื้นที่วัฒนธรรม, ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน และภูมิศิลปะนานาชาติ หากพวกเราร่วมมือร่วมใจกันในการผลักดันให้ศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงานต่อไปให้ครบวงจรทั้ง 3 ภูมิ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถสร้างพลังทางวัฒนธรรม หรือ Soft Power ให้กับประเทศไทยได้
สำหรับเงื่อนไขและกติกาการส่งผลงานเข้าประกวด ในข้อสำคัญ คือ การถ่ายทอดแง่มุมความสวยงามของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอมุมมอง ซึ่งคลิปวีดีโอที่ส่งเข้าประกวด ต้องนำ เสนอประวัติ และตัวตนของศิลปินพื้นบ้าน เพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่สอดคล้องกับหัวข้อโครงการ คือ ลำนำศิลป์ พื้นถิ่นไทย หรือ THE MELODY OF FOLK ART ความยาวของผลงานที่ส่งเข้าประกวดอยู่ระหว่าง 10 – 15 นาที
นอกจากนั้นผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องคำนึงถึงการไม่ละเมิด
ลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ทั้ง ภาพ เสียง เอฟเฟค รวมถึงไม่ใช้ผลงานที่ทำซ้ำ ดัดแปลง ไม่เคยเผยแพร่ หรือเคยได้รับรางวัล
หรือถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ นอกจากการส่งเข้าประกวดในครั้งนี้
เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 19 มกราคม 2566 และสิ้นสุดรับผลงาน 9 กุมภาพันธ์ 2566 โดยทางกรรมการจะใช้เวลา พิจารณาคัดเลือกก่อนประกาศผลในเดือนมีนาคม 2566
สำหรับผู้ที่ส่งผลงานเข้าประกวดและผ่านการคัดเลือกจะได้รับรางวัลพร้อมโล่รางวัลจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมมูลค่ากว่า 250,000 บาท แบ่งเป็น
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัลๆ ละ 50,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง มี 1 รางวัลๆ ละ 40,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับสอง มี 2 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท
รางวัลชมเชย จำนวน 4 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท
และป๊อบปูล่าโหวต อีก 2 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ผ่าน LINE ID
: @Themelody offo Ikart และสามารถติดตามข่าวสารโครงการฯ ได้ที่ Facebook : ลำนำศิลป์ พื้นถิ่นไทย (https://www.facebook.com/TheMelodyofFolkArt)